สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

Data card มีแบบไหนบ้างนะ?

Data card มีแบบไหนบ้างนะ?
สื่อบันทึกข้อมูล Digital

คือ สื่อหรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลสามารถเอามาเก็บข้อมูลอะไรก็ได้เหมือนกับแผ่นดิสค์ที่ใช้อยู่ทั่วๆไป อุปกรณ์เหล่านี้จะใช้กับ กล้องดิจิตอล เป็นส่วนใหญ่ทำให้หลายท่านเข้าใจว่าอุปกรณ์พวกนี้สามารถเก็บได้เฉพาะรูปภาพเท่านั้น ซึ่งเป็น ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง สื่อบันทึกข้อมูลเหล่านี้สามารถใช้งานได้กับ อุปกรณ์ อื่นๆ ได้อีกอาทิเช่น PDA, Music Player, Electronic Books, Handheld PCs, Mobile Phones, Notebooks/PCs, Voice Recorders เป็นต้น จุดเด่นของอุปกรณ์ที่เรากำลังพูดถึงนี้คือความสามารถในการเก็บข้อมูลได้ถึงแม้จะไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง ซึ่งปัจจุบันมีอยู่มากมายหลายประเภทดังนี้


Compactflash หรือ CF


มีบริษัท SanDisk ได้ผลิตการ์ดขนาดเล็กที่เรียกว่า CompactFlash (CF) เป็นครั้งแรกเมื่อปี 1994 โดยใช้มาตรฐานการผลิตแบบ ATA สามารถนำไปใส่ในอะแดปเตอร์แบบพีซีการ์ดได้ ทำให้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมาจนถึงทุกวันนี้ CompacFlash มีความจุในการเก็บข้อมูลตั้งแต่ 2MB ไปจนถึง 3GB และที่สำคัญคือมีราคาต่อความจุค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับอุปกรณ์เก็บข้อมูลประเภทเดียวกันชนิดอื่นสามารถแบ่งย่อยออกเป็น 2 ประเภท คือ CF Type I, และ CF Type II ต่างกันที่ความหนา โดย CF Type II จะมีความหนาที่ 5.5mm ส่วน CF Type I จะมีความหนา 3.3 mm อุปกรณ์ส่วนใหญ่ที่ใช้ CF Type II ได้จะสามารถใช้ CF Type I ได้ แต่อุปกรณ์ใดหากใช้ CF Type I ได้เพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถใช้ได้กับ
CF Type II


SD/MMC

เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดใหม่ที่คิดค้นขึ้นโดย 3 บริษัทคือToshiba/Panasonic/Sandiskมีลักษณะเด่นคือมีขนาดเล็กเท่าแสตมป์เมื่อเปิดตัวมีความจุให้เลือกใช้ตั้งแต่ 8/16/32/64/128/256 และ 512MB ทั้ง SD Card/MMC มีลักษณะภายนอกเหมือนกันเกือบทุกประการ ทั้งขนาดและรูปร่าง โดย SD Card จะหนากว่า MMC เล็กน้อย นอกจากนั้น SD Card จะมีตัวล็อคเพื่อป้องกันการ เขียนทับ ข้อมูล ส่วนการทำงานภายใน SD Card จะมีระบบการเข้ารหัสข้อมูล (Data Encryption) เพื่อป้องกันการก๊อปปี้ข้อมูล ส่วน MMC จะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดอยู่ที่ 2.5 MB ต่อวินาที ในขณะที่ SD Cardจะมีความเร็วอยู่ที่10MBต่อวินาทีหรือเร็วกว่าเป็น4เท่าแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นความเร็วจริงในการทำงานจะขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ร่วมกันด้วย อย่างไรก็ดี เนื่องจาก SD Card และ MMC ได้ถูกออกแบบให้มี Controller อยู่ในตัวเช่นเดียวกับ CF ในอนาคตจึงเป็นไปได้ว่าจะมีการปรับปรุงความสามารถในการทำงานให้เร็วขึ้นดังที่เกิดขึ้นกับ CF ปัจจุบันได้รับความนิยมมากในกล้องหลายยี่ห้อ มีผู้ผลิตหลายยี่ห้อและราคาไม่แพงนอกจากใช้กับกล้องดิจิตอลแล้ว ยังได้ถูกนำไปใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆอีกหลายอย่าง เช่น คอมพิวเตอร์มือถือขนาดเล็ก เครื่องบันทึกเสียง เป็นต้น


Memory Stick & Memory Stick Pro

การ์ดชนิดนี้มีขนาดเล็กมาก รูปทรงยาวคล้ายหมากฝรั่ง ออกแบบโดยบริษัท โซนี่ ใช้ได้กับกล้องดิจิตอล เครื่องบันทึกเสียง กล้องวีดีโอดิจิตอล กรอบรูปดิจิตอล เครื่องเล่นเพลง MP3 และอื่นๆ อีกมากมาย MS แบ่งออกเป็นสองประเภทคือสีม่วงและสีขาวทั้งสองประเภททำงานเหมือนกันประสิทธิภาพเท่ากันแต่ต่างกันที่สีขาวที่มีชื่อเรียกต่อท้ายว่า MagicGate นั้นมีระบบป้องกันการก๊อปปี้เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์โดย MS ทั้งสองชนิดสามารถ นำมาใช้กับกล้องดิจิตอลได้เหมือนกันความจุเริ่มต้นตั้งแต่ 4MB ขึ้นไปจนถึง 128MB แต่ทางบริษัท Sony ได้ประกาศแล้วว่าจะมีการผลิตรุ่น 256MB ออกมาในไม่ช้า แต่ยังไม่มีประกาศใดๆ เกี่ยวกับ MS ที่มีความจุมากกว่านั้น และมีแบบ Memory Stice Pro ความจุสูงสุดถึง 1 GB. แต่นำไปใช้กับกล้องรุ่นเก่าๆไม่ได้ ปัจจุบันมีผู้ผลิตอิสระทำการ์ดชนิดนี้ออกมาขายด้วย


MicroDrive

พัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM มีรูปร่างหน้าตาคล้าย Compact Flash แต่มีขนาดหนากว่า CF Type II อยู่ .5 mm ภายในไม่ได้ใช้ Flash Memory เหมือนกับ Compact Flash แต่เป็น Hard disk ที่มีขนาดเล็กมากๆ หากจะนำมาใช้ต้องระมัดระวังเรื่องการกระแทก/กระเทือนเป็นอย่างมาก ข้อเสียของ Microdrive เมื่อเทียบกับ Compact Flash แล้วมีอยู่มากมาย เช่น ความเร็วในการทำงานช้ากว่า, กินกำลังไฟฟ้ามาก ทำให้ Battery หมดเร็วมีความร้อนสูง และอาจเสียหายได้ง่ายมากหากทำตก แต่มีข้อดีมากๆ อยู่หนึ่งข้อที่ทำให้ Microdrive ได้รับความนิยม คือเมื่อเทียบราคาต่อความจุแล้ว Microdrive มีราคาถูกมากประมาณแค่ 40% ของCompactFlash (หรือหากเทียบจากราคาMicrodriveแล้วCompactFlashจะมีราคาอยู่ที่250%ของราคาMicrodrive เลยทีเดียว) การพัฒนา Microdrive แบ่งออกเป็นสองช่วงหลักๆ คือรุ่นแรก 340/512 MB และรุ่นหลัง 1GB ซึ่งรุ่นหลังถูกออกแบบมาให้มีความจุสูงกว่า ใช้กำลังไฟฟ้าน้อยกว่า และทดต่อแรงกระเทือนได้สูงกว่า (หากไม่ได้ทำงานรุ่น 340MB จะทนแรงกระเทือนได้ 1000G แต่รุ่น 1GB จะสามารถทนได้ 1500G)

การนำ Microdrive มาใช้กับกล้องดิจิตอลนั้นต้องศึกษาให้แน่ใจก่อนว่ากล้องของเราสามารถใช้กับ Microdrive ได้หรือไม่ และสามารถนำรุ่นใดมาใช้ได้บ้าง หรือหากนำมาใช้ต้องมีข้อระมัดระวังอะไรบ้าง เท่าที่ผู้เขียนทราบ เช่นกล้อง Nikon D1 สามารถใช้ MD ได้ทั้งสองรุ่น แต่จะต้องระมัดระวังในการลบภาพที่ไม่ต้องการ ซึ่งจะทำได้เฉพาะภาพล่าสุดที่เพิ่งถ่ายไปเท่านั้น ไม่เช่นนั้น MD ตัวนั้นจะไม่สามารถทำงานกับกล้อง Nikon D1 ได้อีกจนกว่าจะทำการ Format MD ด้วยอุปกรณ์อื่นๆ เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนถึงจะใช้งานต่อไปได้ หรือ Olympus E-10 ใช้ได้กับ MD 340GB รุ่น dmdm-10340 เท่านั้น ห้ามใช้กับรุ่น 1GB หรือ 340MB รุ่นอื่นเด็ดขาดมิเช่นนั้นกล้องอาจจะหยุดทำงาน และต้องส่งเข้าศูนย์เพื่อแก้ปัญหา

กล้องบางรุ่นอาจจะระบุมาเลยว่าถูกออกแบบมาให้ใช้กับ Microdrive ได้เช่น Nikon D1x ซึ่งระบุมาในเอกสารเลย ว่าสามารถใช้กับ Microdrive ได้แต่จะต้องเป็นรุ่น 1GB เท่านั้น หรือ Olympus E-20 ซึ่งระบุมาเลยว่าใช้ได้ทุกรุ่นเป็นต้น เป็นดิสก์ที่มีขนาดเล็กมาก ออกแบบให้มีขนาดเละรูปร่างเหมือนการ์ด CF จึงใช้ได้กับกล้องหลายรุ่นที่ใส่การ์ดแบบ CF และ Microdrive ถือเป็นคู่แข่งสำคัญของแฟลชเมมโมรี เช่น Compact Flash และ Memory Stick ของโซนี่ (Sony) นอกจากนั้นยังโดดข้ามตลาดไปชนกับ Digital Capture Technology 1.5GB ซึ่งเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลรุ่นใหม่ของบริษัทไอโอเมก้า (Iomega)


Smart Media

เป็นอุปกรณ์ที่ขับเคี่ยวกับ CF มาตั้งแต่แรก มีจุดเด่นคือขนาดที่บางมาก มีสองรุ่น คือรุ่นที่ใช้ความดันไฟ 3.3V และ 5V ในขณะที่ CF ตัวเดียวสามารถทำงานได้กับแรงดัน ไฟฟ้าสองระดับ แต่ SM จะถูกผลิตออกมาเพื่อทำงานระบุเจาะจงกับความดันไฟฟ้าแต่ ละระดับโดยเฉพาะเลยการใช้งานห้ามใช้งานผิดแรงดันมิฉะนั้น
SMจะเสียหายได้มาตรฐาน ที่นิยมนำมาใช้กับกล้องดิจิตอลจะทำงานอยู่ที่ระดับไฟ 3.3Vซึ่งต่างจาก CF ที่ทำงานอยู่ที่ 5V ทำให้กินกระแสไฟฟ้าในการทำงานน้อยกว่าข้อเสียของ SM อยู่ที่การออกแบบมาตั้งแต่แรกที่ออกแบบให้ในตัวSMมีแต่หน่วยความจำเพียงอย่างเดียวตัวควบคุมการทำงานที่เรียกว่าControllerจะอยู่ในตัวกล้อง
ดิจิตอลดังนั้นกล้องดิจิตอลที่ใช้Controllerรุ่นเก่าอาจจะไม่รู้จักSMความจุสูงรุ่นใหม่ๆที่พัฒนาขึ้นมาทีหลังได้ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อมีการพัฒนา SM ที่มีความจุ 64MB ขึ้นมา และเมื่อมีการพัฒนา SM ที่มีความจุ 128MB ขึ้นมาก็เกิดปัญหาแบบเดียวกันขึ้นอีกครั้งเป็นครั้งที่สอง ต่างจาก CF จะมี Controller อยู่ในตัวอุปกรณ์เก็บข้อมูลเลยปัจจุบันหยุดการพัฒนาไปแล้วแต่ยังมีผลิตเพื่อจำหน่ายอยู่ โดยผู้สนับสนุน SM รายใหญ่คือ Fuji และ Olympus ได้เปลี่ยนไปพัฒนาอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่มีชื่อว่า xD Picture Card แทน


XD Picture Card

XD Picture Card เกิดจากการร่วมมือกันระหว่าง 2 บริษัทยักษ์ในวงการกล้องถ่ายภาพคือ Fuji Photo Film Co.,Ltd และ Olympus Optical Co.,Ltd. โดยทั้งสองเคยร่วมกันพัฒนาในตัวสื่อบันทึกข้อมูลมาก่อนคือ Smart Media ซึ่งมีชื่อเสียงมากถือว่าเป็นสื่อชั้นแนวหน้าในอุปกรณืประเภทพอร์เทเบิล สามารถทำงานร่วมกับเครื่อง PC ประหยัดต้นทุน ปัจจุบัน Smart Media ก็เป็นอีกหนึ่งมาตรฐานสื่อบันทึกข้อมูลชิ้นหนึ่ง และในที่สุดการโคจรมาพบกันระหว่าง / บริษัทก็เกิดขึ้นอีก โดยครั้งนี้ มาในนาม XD Picture Card โดยมีความเห็นพ้องกัน 3 ประการคือ

  1. การพัฒนาให้กล้องดิจิตอลมีขนาดเล็กที่สุด
  2. ความต้องการขนาดความจุของสื่อบันทึกข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มากๆ
  3. ให้สื่อบันทึกข้อมูลต่างยี่ห้อสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างดีที่สุด

และชื่อ XD Picture Card นั้นก็ได้รับแรงบันดาลใจมากจากคำว่า Extreme Digital ซึ่งชวนให้นึกถึงสื่อบันทึกข้อมูลแบบใหม่ที่มีความเป็นเลิศในเรื่องของการบันทึก การเก็บรักษาข้อมูล และการส่งผ่านข้อมูล ซึ่ง เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดใหม่ที่ออกแบบมาแทนที่ SM มีความสามารถในการเก็บข้อมูลตั้งแต่ 16 MB ไปสูงสุดที่ 8 GB มีความขนาดความจุข้อมูลให้เลือกใช้ตั้งแต่ 16/32/64/128 MB ส่วนขนาด 256MB นั้นทางบริษัท Olympus ประกาศ ว่าจะนำออกวางตลาดในเร็วๆ นี้ ในเรื่องของความเร็วในการทำงานนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละรุ่น เช่นรุ่นที่มีความจุ 16/32 MB จะมีความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูล 1.3 MB ต่อวินาที ในขณะที่รุ่นความจุ 64 MB จะมีความเร็วที่ 5 MB ต่อวินาที XD Card ใช้หลักการออกแบบเช่นเดียวกับ SM คือไม่มี Controller ในตัวซึ่งจะทำให้มีข้อเสียเช่นเดียวกับ SM แต่อย่างไรก็ดีทางบริษัทFujiเชื่อมั่นว่าข้อจำกัด ของความจุที่ 8 GB นั้นเพียงพอต่อการใช้งานไปอีกนานมาก นอกจากนั้นการทำเช่นนี้ ยังมีข้อดีอีกหลายอย่าง เช่น ในอนาคตอาจจะมีการผลิต Adapter ออกมาในรูปแบบของ Compact Flash ที่จะทำให้เราสามารถนำ xD Card ไปใช้กับกล้องที่ใช้อุปกรณ์เก็บข้อมูลประเภท CF ได้ รวมไปถึงต้นทุนการผลิตต่ำกว่า อุปกรณ์เก็บข้อมูล ชนิดอื่นเช่น SD Card ปัจจุบันกล้องดิจิตอลรุ่นใหม่ทั้งของ Fuji และ Olympus ได้หันมาใช้ xD Card กันหมดแล้ว โดยกล้องบางรุ่นอาจจะ สามารถใช้ได้ทั้ง SM และ xD Card แต่กล้องบางรุ่นก็จะใช้ได้เฉพาะ xD Card เท่านั้น

ที่มา  http://www.dcomputer.com

ความคิดเห็น

  1. 1
    โหลดเพลง
    โหลดเพลง 06/04/2010 21:28

    โอ้ววว มันจ๊อดมากเลยนะนาย


  2. 2
    sukanya
    sukanya kanya.smartlife1@gmail.com 13/08/2011 12:02
  3. 3
    sukanya
    sukanya kanya.smartlife1@gmail.com 13/08/2011 12:03
  4. 4
    หนุ่ม
    หนุ่ม aradin777@hotmail.com 20/03/2012 22:42

    thank you

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view