สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

7 วิธี เพิ่มความเร็วง่ายๆให้แก่ Notebook สุดรัก (ตอนที่ 1)

7 วิธี เพิ่มความเร็วง่ายๆให้แก่ Notebook สุดรัก (ตอนที่ 1)

ปัญหาหนักอกของผู้ใช้โน๊ตบุ๊ค หลายๆคนที่บ่นกันเข้ามา คือ
ทำไมโน๊ตบุ๊คของเรามันช้าจังนะ ยิ่งใช้ยิ่งอืดเหมือนเต่าเลย
มีวิธีการไหนที่จะทำให้มันเร็วเหมือนใหม่บ้าง...วันนี้ทางทีมงาน
notebookspec จึงมีบทความ เพื่อเพิ่มความเร็วให้กับโน๊ตบุ๊คสุดรักของเรา
โดยท่านเบลล์ ขวัญใจชาว NBS


 


Credit : www.laptopmag.com



By mnssp04

สวัสดีครับกลับมาพบกันอีกครั้งนะครับ ในคอลัมน์ Tip&Trick ประจำเว็บไซท์ Notebook อันดับ 1 เป็นอีกครั้งที่ได้มาเขียนในคอลัมน์นี้ (ปกติจะวนเวียนอยู่แถวๆ Buyer’s Guide ไม่ก็ Review ^^) ซึ่งการมาในครั้งนี้ผมก็ได้เตรียมเคล็ดลับโดนๆมาฝากเพื่อนๆกันอีกเช่นเคยครับ โดยคราวนี้จะเป็นเรื่องของการทำให้ Notebook ของทุกๆท่านกลับมาตอบสนองได้รวดเร็วดังเดิม เหมือนเพิ่ง Format เครื่องมาใหม่ๆ ไม่มีอืด ไม่มีหน่วง ให้ต้องรำคาญใจกันอีกต่อไป สำหรับ 7 วิธีที่ว่านี้มีอะไรกันบ้างเราไปติดตามชมกันเลยดีกว่าครับ

ram แรม notebookspec


วิธีที่ 1 เพิ่มแรม เพิ่มความเร็ว !!

สำหรับในส่วนของวิธีแรกนี้เป็นวิธีที่ค่อนข้างจะนิยมกันอย่างแพร่หลาย และผมคิดว่าท่านผู้อ่านเกือบจะทั้งหมดก็คงจะรู้จักวิธีนี้กันเป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นผมขอรวบรัดตัดตอนไปพูดกันถึงเรื่องประสิทธิภาพกันเลยจะดีกว่าครับ (สำหรับท่านที่ต้องการอ่านเรื่องแรมเพิ่มเติมเชิญอ่านต่อได้ที่นี่ครับ http://www.notebookspec.com/2008/08feb-buyram.html, http://www.notebookspec.com/2008/08feb-installram.html)

ภาคทฤษฎี:

ก่อนอื่นเรามาเริ่มกันด้วยแนวทางทางทฤษฎีกันก่อนเลยดีกว่าครับ โดยสำหรับทางด้านสรรคุณที่มีการโฆษณากันอยู่ทั่วๆไปนั้น มักจะบอกว่าการเพิ่มแรมสามารถเพิ่มความเร็วให้กับระบบของคุณได้ และนอกจากนี้ยังสามารถที่จะรันโปรแกรมขึ้นมาพร้อมๆกันได้มากกว่าเดิมอีกด้วย


ภาคปฏิบัติ:

สำหรับการทดลองประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นจากการอัพเกรดแรมนั้นพบว่า เวลาในการบูทระบบนั้น ทำเวลาได้ดีขึ้นกว่าเดิมเพียง 1 วินาที สำหรับ Windows XP และ 2 วินาที สำหรับ Windows Vista เท่านั้นจากการเพิ่มแรมเข้าไปอีก 1 GB แต่ความเร็วโดยรวมของระบบหลังจากการเพิ่มแรมนั้น สามารถทำได้อย่างชัดเจนกว่า คือ การเปิดโปรแกรม iTune ใน Windows Vista ก่อนการอัพเกรดแรมนั้นจะอยู่ที่ 29 วินาทีจึงจะพร้อมใช้งาน แต่หลังจากที่เพิ่มแรมเข้าไปอีก 1 GB พบว่าใช้เวลาในการเปิดเพียง 17 วินาที เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีผลการ Test ในด้านของการเปิดโปรแกรมหลายๆโปรแกรมพร้อมๆกันอีกด้วย ซึ่ง แรม 1 GB นั้น สามารถเปิดได้เพียง โปรแกรมสำหรับการ chat 2 โปรแกรม, โปรแกรม Weather Bug และ Google Earth ซึ่งหากเปิดอะไรเพิ่มเติมไปมากกว่านี้ก็จะเริ่มออกอาการหน่วงให้เห็น นอกจากนี้ยังได้ทดสอบการ Zip Folder ที่มีขนาด 385 MB ซึ่งผลปรากฏว่าใช้เวลาไปทั้งหมด 1 ชั่วโมง 44 นาที

พอทดสอบที่ 1 GB เสร็จแล้วเราก็จะมาลุยกันต่อโดยการเพิ่มแรมเข้าไปอีก 1 GB ผลออกมาดังนี้ครับ โดยผลทางด้านการเปิดใช้งานโปรแกรมต่างๆพร้อมกันนั้น สามารถที่จะเปิดโปรแกรมสำหรับการ chat พร้อมกัน 3 ตัว, Weather Bug, Google Earth, iTunes, World in Conflict และ Internet Explorer อีก 2 หน้าต่าง ส่วนผลการทดสอบ Zip นั้น ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 10 นาที เท่านั้นครับ



วิธีที่ 2 Defrag ง่ายๆ ไม่เสียตังค์

defragment notebookspec


สำหรับวิธีนี้ก็อาจจะเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว ซึ่งเป็นการใช้ tools ที่มากับตัววินโดวส์อยู่แล้ว หรือ tools ประเภทนี้ที่เป็นของยี่ห้ออื่นๆ ในการจัดเรียงข้อมูลบน Harddisk ใหม่ เพื่อให้ระบบสามารถเรียกใช้ข้อมูลต่างๆที่ต้องการได้รวดเร็วขึ้น ส่วนวิธีการเรียกใช้งาน Defragment ของตัว Windows นั้นก็สามารถทำได้ง่ายๆครับ เพียงแค่เลือกไปที่ Start >> All Programs >> Accessories >> System Tools แล้วคลิกเพื่อเปิด Disk Defragmenter จากนั้นก็เริ่มทำการ Defrag กันได้เลยครับ

ภาคทฤษฎี:

คำแนะนำในเรื่องของการ Defrag ว่าควรทำบ่อยแค่ไหนนั้น ยังไม่มีผลการทดสอบที่ออกมานำเสนอ หรือคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญใดๆ ทั้งนี้เพราะว่าการเกิดการ fragment หรือการกระจัดกระจายของข้อมูลบน Harddisk ขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัย เช่น ความถี่ในการใช้งาน หรือ การเพิ่มและลบข้อมูลต่างๆบน Harddisk ซึ่งตรงจุดนี้เอาเป็นว่า Defrag กันอย่างน้อยเดือนละครั้งน่าจะดีที่สุดครับ


ภาคปฏิบัติ:

สำหรับการทดสอบบน Windows XP นั้น พบว่าการบูทหลังจากที่ได้ทำการ Defrag ไปนั้น สามารถลดเวลาลงไปได้ถึง 35 วินาที ส่วนบน Windows Vista ใช้เวลาลดลงไป 6 วินาที นอกจากนี้ยังมีการทดสอบอีกแบบนึง โดยการสร้างไฟล์ที่ชื่อว่า “Find Me.txt” ขึ้นมาหลังจากนั้นก็ทำการซ่อนไว้ในส่วนที่ลึกที่สุดของ Harddisk แล้วทำการ Serch ซึ่งผลปรากฏว่าก่อนการ Defrag ใช้เวลา 22 วินาที และหลังจาก Defrag ใช้เวลาเพียงแค่ 6 วินาทีเท่านั้นครับ


วิธีที่ 3 กำจัดโปรแกรมขยะต่างๆให้สิ้นซาก !!

PC Decrapifier ขยะ notebookspec


เครื่องคอมพิวเตอร์สมัยนี้ ไม่ว่าจะมองไปทางไหนๆ ก็มักจะพบกับโปรแกรมขยะต่างๆที่มักจะแฝงตัวมาพร้อมกับโปรแกรมหลักต่างๆที่เราต้องการใช้งาน อาทิ เช่น Google Desktop, Google Tool Bar, Yahoo Tool Bar และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งใครที่เป็นบุคคลประเภท คลิก Next ไปเรื่อยๆ เวลาลงโปรแกรม มักจะมีโปรแกรมเหล่านี้มาแอบอาศัยอยู่ในเครื่องมากมายครับ ฉะนั้น เพื่อความคล่องตัวในการทำงานของตัวเครื่อง เรามากำจัดเหล่ากาฝากพวกนี้ให้สิ้นซากกันดีกว่าครับ

ภาคทฤษฎี:

ตามลักษณะทั่วไปของโปรแกรมเหล่านี้ มักจะถูกบูทเองโดยอัตโนมัติทันทีที่เราเปิดเครื่องครับ และมักจะทำงานเป็น Back Ground อยู่เงียบๆ แอบกินทรัพยากรโดยเราไม่ได้เรียกใช้งานโปรแกรมเหล่านี้แม้แต่น้อย ซึ่งหากเราปล่อยให้มีโปรแกรมเหล่านี้มากๆเข้า จำนวนพื้นที่ว่างบนแรมที่จะเหลือให้เราใช้งานนั้นก็จะลดลงไปด้วย ทำให้เครื่องใช้งานแรมได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งผลที่ตามมานั่นก็คือ ช้านั่นเองครับ

ภาคปฏิบัติ:

สำหรับทางแก้ของเรานั้น เราจะไปทำการดาวน์โหลดโปรแกรมที่มีชื่อว่า PC Decrapifier (www.pcdecrapifier.com) มาใช้ในการตรวจสอบว่าโปรแกรมขยะต่างๆนั้นมีอะไรบ้างและแฝงตัวอยู่ที่ไหนกันบ้าง สุดท้ายเราก็จะอาศัยโปรแกรมเหล่านี้ให้ช่วยกำจัดสิ่งไม่พึงประสงค์ต่างๆเหล่านี้ให้ออกไปจาก Notebook สุดรักของเราอย่างถาวรครับ (ถ้าไม่ไปติดตั้งใหม่) ซึ่งผลจากการ Scan หานั้นพบโปรแกรมต่างๆเหล่านี้ที่ไม่ได้มีการเรียกให้ใช้งานกำลังกินกันอย่างสนุกสนานครับ AIM6.exe (17MB ), Google Desktop Startup (17MB), Google Talk (13MB), iTunesHelper (4MB), and และอื่นๆอีกประมาณ 51MB นอกจากนี้ยังได้ Remove พวก Start-Up โปรแกรมต่างๆไปอีกมากมาย ถือว่าเป็นอีก 1 วิธีที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียวครับ

เอาล่ะครับสำหรับในตอนแรกนี้ ก็ขอนำเสนอกันไปก่อน 3 วิธี ครับ ส่วนวิธีเด็ดๆส่วนที่เหลือนั้น จะมานำเสนอกันต่อในตอนหน้า ใครที่กำลังมองหาวิธีเพิ่มความเร็วกันอยู่ละก็ ห้ามพลาดโดยเด็ดขาดครับ สำหรับวันนี้ลาไปก่อน พบกันใหม่ตอนหน้าครับ ^^


ความคิดเห็น

  1. 31
    25/05/2013 06:05

    ขอบคุณคับ

  2. 32
    13/06/2014 11:56

    ขอบคุณคับ มีประโยชน์มาก รับจำนำโน๊ตบุ๊ค

  3. 33
    22/01/2015 12:11
[Back]   1 2

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view